วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมการศึกษา

หัวข้อวิจัย ผลของการใช้มัลติมีเดียที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึม กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจักรวาลและอวกาศ ระดับประถมศึกษา ปีที่ 6.


ผู้ดำเนินการ สัณห์สุดา พลธรรม
ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม
หน่วยงาน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [ISBN 974-435-134-9]
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้มัลติมีเดีย ที่พัฒนาตาม
แนวคอนสตรัคติวิสซึม โดยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ศึกษารูปแบบการทำ
ความเข้าใจของผู้เรียน และศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อมัลติมีเดียที่พัฒนาตามแนว
คอนสตรัคติวิสซึม กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง จักรวาลและอวกาศ ระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสนามบิน อ.เมือง จ.ขอนแก่น จำนวน 54 คน ที่ได้มาจากการสุ่ม
แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1) มัลติมีเดีย ที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจักรวาลและอวกาศ จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่น
ของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน 4) แบบ
สัมภาษณ์เกี่ยวกับรูปแบบการทำความเข้าใจ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบที่มีกลุ่มทดลองเพียง
กลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูล
เชิงปริมาณใช้ในการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบค่าที
(t-test) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การอธิบายและตีความข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยมัลติมีเดีย ที่พัฒนา
ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) รูปแบบการทำความเข้าใจในการเรียน พบลักษณะ 4 แบบ โดยแต่ละแบบจะมี
ลักษณะร่วมและต่างกัน กล่าวคือ ผู้เรียนเริ่มเผชิญปัญหาและทำการปรึกษาหารือร่วมกัน เมื่อ
แก้ปัญหาไม่ได้ ในรูปแบบที่ 1 ได้ขอคำแนะนำจากผู้ช่วย (Coaching) พบแนวทางการแก้ปัญหา
แล้วตอบคำถาม รูปแบบที่ 2 ได้ขอคำแนะนำจากผู้ช่วย (Coaching) แต่ยังไม่พบแนวทาง
การแก้ปัญหา เข้าไปในธนาคารข้อมูล (DATA BANK) วิเคราะห์ อภิปราย และสรุป
การแก้ปัญหา แล้วตอบคำถาม ส่วนรูปแบบที่ 3 ได้ขอคำแนะนำจากผู้ช่วย (Coaching) แต่ยัง
ไม่พบแนวทางการแก้ปัญหา อภิปราย และสรุปหาแนวทางการแก้ปัญหาแต่ยังไม่ชัดเจน ปรึกษา

ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในฐานให้ความช่วยเหลือ (Scaffolding) แล้วจึงสรุปการแก้ปัญหาและตอบคำถา_______ม
และรูปแบบที่ 4 ได้ขอคำแนะนำจากผู้ช่วย (Coaching) แต่ยังไม่พบแนวทางการแก้ปัญหา เข้าไป
ในธนาคารข้อมูล (DATA BANK) วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปหาแนวทางการแก้ปัญหาแต่ยังไม่
ชัดเจน เข้าไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในฐานให้ความช่วยเหลือ (Scaffolding) แล้วจึงสรุป
การแก้ปัญหา และตอบคำถาม
3) การศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อการเรียนด้วย
มัลติมีเดีย ที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง จักรวาลและ
อวกาศ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มัลติมีเดียช่วยเชื่อมโยง
ประสบการณ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน และส่งเสริมให้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีอิสระในการเรียนเลือก
ค้นคว้าตามความสนใจ นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกัน
และกัน


เอกสารอ้างอิง

สัณห์สุดา พลธรรม. (2546). ผลของการใช้มัลติมีเดียที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึม
กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจักรวาลและอวกาศ ระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [ISBN 974-435-134-9]
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์: ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม
แนวคิด
นวัตกรรมมีส่วนช่วยให้นักเรียนหันมาสนใจ ในรูปแบบการเรียนที่แปลกใหม่ น่าค้นคว้า ทำให้มีส่วนร่วม ได้รู้จักว่างแผน แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วตึงสรุปผล ดั้งนั้น นวัตกรรมการศึกษาจึงเป็นส่วนสำคัญในการเรียนการสอน เพราะจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และยังทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น